บทที่ 6
การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge)
I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่าง
ๆ
ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning
Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้
ทักษะ และเจตคติ
การบูรณาความรู้หมายถึง การโยงความรู้
หรือการสร้างความสัมพันธ์และรวมแนวคิดเป็นหนึ่งเดียวในสถานการณ์ต่างๆ
การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งเดียวกัน และเป็นความรู้ที่ลุ่มลึกและยั่งยืน การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็น
โดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้ ข้อมูล
ข่าวสารมาก
การบูรณาการความรู้อาจเขียนเป็นลำดับความสัมพันธ์ได้ดังนี้ เริ่มจาก ข้อมูล (data) สารสนเทศ (information) ความรู้ (Knowledge) ปัญญา (wisdom)
เป้าหมายหลักของการเรียนคือเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งที่ถือว่าสำคัญ
ในหลักสูตรเรียกว่า
หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curricula) โดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กันเป็นการเชื่อมโยงในแนวนอน ระหว่างหัวข้อ
และเนื้อหาต่าง ๆ ที่เป็นความรู้ ทั้ง 3 ด้าน
ได้แก่ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
และสัมพันธ์กับวิชาอื่น
แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การพัฒนาผู้เรียนตามความสามารถที่แตกต่างกันจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถทุกด้าน ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner อ้างใน วิชัย
วงษ์ใหญ่ , 2542 : 8-11)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ได้นำเสนอทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence
theory)
สรุปได้ว่า ผู้เรียนมีความสามารถทั้ง 8 ด้าน
คือ ด้านภาษา ด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ด้านภาพมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี
ด้านมนุษยสัมพันธ์
ด้านการเข้าใจตนเอง
และด้านความเข้าใจสภาพธรรมชาติ
เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือความสามารถในแต่ละด้านของผู้เรียนให้พัฒนาไปให้เต็มศักยภาพของตน
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 มาตร 23 ระบุว่า
การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ
ซึ่งวิชัย วงษ์ใหญ่ (2547 : 2) กล่าวว่า การบูรณาการ
คือ การผสมผสานที่กลมกลืนกันอย่างมีคุณภาพ ระหว่างองค์ประกอบหรือ ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่มีเป้าหมายตรงกัน เพื่อให้ได้มาสิ่งใหม่หรือสภาพใหม่ที่มีค่าและสมบูรณ์แบบ
ได้ประโยชน์จากการบูรณาการสู่ชีวิตและการเรียนรู้
การบูรณาการการเรียนรู้ คือ
การเชื่อมโยงระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ
ในหลักสูตร
จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักว่าสิ่งไหนที่ได้เรียนรู้ มีประโยชน์สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ลักษณะการเรียนรู้จะจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้หรือเป็นหัวเรื่อง
หน่วยบูรณาการ thematic approach
กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือ
-
ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย
-
เกิดองค์ความรู้ ความคิดแบบองค์รวม พัฒนาความสามารถการคิด
-
เห็นความเชื่อมโยง
นำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบองค์รวม
-
เกิดประสบการณ์
นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง
สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
-
ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง
วิชัย วงษ์ใหญ่
(2547 : 4)
กล่าวสรุปได้ว่า
ลักษณะบูรณาการ 4 แบบ
คือ
1.
การสอดแทรก (infusion)
การบูรณาการแบบเชื่อมโยงโดยผู้สอนคนเดียว
วิธีการสอดแทรกนี้ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งนำวิชาอื่น ๆ
มาบูรณาการกับวิชาที่ตนสอนและสามารถเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ให้เชื่อมโยงกับหัวเรื่อง
ชีวิตจริงหรือภาระการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นมา
2.
คู่ขนาน (parallel)
วิธีการคู่ขนานผู้สอนหลายคนมาจากหลายวิชามาวางแผนร่วมกัน เพื่อรวมองค์ประกอบของหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์
(concept) หรือปัญหา
(problem)
แล้วผู้สอนแต่ละคน
แต่ละวิชาแยกกันและการกำหนดชิ้นงานขึ้นอยู่กับผู้สอน
ผู้สอนอาจตกลงกันว่าจะยึดเกี่ยวกับหัวเรื่องหรือปัญหาที่กำหนดไว้ร่วมกัน
3.
พหุวิทยาการ (multidisciplinary)
วิธีการพหุวิทยาการผู้สอนหลายคนมาจากหลายสาขาวิชามาวางแผนร่วมกันที่จะสอนเกี่ยวกับหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์
(concept)
หรือปัญหา (problem)
และกำหนดภาพรวมของโครงการร่วมกันให้ออกมาเป็นชิ้นงานแบ่งโครงการออกเป็นโครงการย่อย
การบูรณาการในหลายสาขาผู้สอนร่วมกันได้หลายชั่วโมง
4.
การข้ามวิชาหรือการสอนเป็นทีม (transdisciplinary)
วิธีการข้ามสอนหรือสอนเป็นทีมผู้สอนแต่ละรายวิชามาว่างแผนร่วมกันในองค์ประกอบของ หัวเรื่อง
(theme)
มโนทัศน์ (concept) หรือปัญหา (problem) กำหนดเป็นโครงการขึ้นมาและร่วมกันสอนเป็นคณะ
กรมการวิชาการ (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ , 2545 :
6-7)
เสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการไว้ ดังนี้
1.
การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว
เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนหนึ่งคน มีการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับชีวิตจริง
หรือการเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระต่าง ๆ เช่น
การอ่าน การเขียน คิดคำนวณ
การคิดวิเคราะห์
ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวเรื่องที่กำหนด
2.
การบูรณาแบบคู่ขนาน
เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนสองคนขึ้นไป
ร่วมกันจัดการเรียนการสอน โดยยึดหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง
3.
การบูรณาแบบสหวิทยาการ
เป็นการจัดการเรียนการสอนจากการนำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระเชื่อมโยงและจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน
4.
การบูรณาการแบบโครงการ
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ครูสอนและนักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์โครงการ
และการใช้เวลาเรียนต่อเนื่องกันได้หลายชั่วโมง
โดยนำจำนวนชั่งโมงของตาละรายวิชาที่แยกกันอยู่ ที่เคยแยกกันสอน มารวมเป็นเรื่องเดียวกัน
วิชัย วงษ์ใหญ่
(2547 : 5) สรุปภาพรวมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ วิธีการ
กิจกรรม การประเมินผล และผลการเรียนรู้ ไว้ดั้งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น