ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น
วิเคราะห์ภาระงาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการ ระบุงาน และภาระงาน
โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานแล้วระบุเป็น
ชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ การออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ
(จากขั้น การ กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (setting
learning goals) ลักษณะสําคัญของงานคือ
ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย
แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้ และในขณะเดียวกันต้องครอบคลุม สาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง
เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและ น่าเชื่อถือ
ขั้นสอน
6.2 ผลการประเมิน
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วยดอกไม้
1.
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็กที่แข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว
และประสานสัมพันธ์กัน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วและทรงตัวได้ดี
มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้
มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตัวบ่งชี้ที่
8.2
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ตัวบ่งชี้ที่
11.2
แสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์
2.
สาระการเรียนรู้
2.1 สาระที่ควรเรียนรู้
- การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง
2.2 ประสบการณ์สำคัญ
- การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
- การแสดงปฏิกิริยาตอบโต้เสียงดนตรี
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 เพื่อให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้
3.2 เพื่อให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะและสัญญาณได้
3.3 เพื่อให้เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ
4. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
4.1
เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงโดยให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายไปทั่วบริเวณห้องอย่างอิสระตามเสียงฉิ่ง
เช่น ถ้าครูตีฉิ่งช้าๆ ให้เด็กเดินช้าๆ ตามจังหวะของเสียงฉิ่ง ถ้าครูตีฉิ่งเร็วๆ
ให้เด็กๆ วิ่งตามจังหวะของฉิ่ง ถ้าครูหยุดตีฉิ่ง ให้เด็กหยุดเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที
โดยขณะเคลื่อนไหวเด็กๆ ต้องระมัดระวังไม่ให้ชนกับเพื่อน ถ้าชนเพื่อนต้องขอโทษทันที
4.2. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบประกอบเพลง
เช่น
-วันนี้ครูมีกิจกรรมให้เด็กๆทำชื่อกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบประกอบเพลง
4.3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบประกอบเพลงดังนี้
- ครูให้เด็กๆหาพื้นที่ส่วนตัว
- ครูพานักเรียนร้องเพลง
และทำท่าทางประกอบเพลง
- ครูและนักเรียนเริ่มทำกิจกรรมการเคลื่อนไหนร่างกายประกอบเพลง
4.4. เด็กและครูร่วมกันหาอาสาสมัครออกมาทดลองปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบประกอบเพลง
เช่น
- ใครจะอาสาออกมาเป็นผู้นำพาเพื่อนเต้นบ้างคะ
4.5. เด็กและครูร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบประกอบเพลง
ขั้นสรุป
4.6. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบประกอบเพลง
เช่น
- เด็กๆ
เต้นประกอบเพลงสนุกไหมคะ
- ให้เด็กๆบอกว่าในเนื้อเพลงมีดอกไม้อะไรบ้าง
4.7. เมื่อเสร็จกิจกรรมครูให้เด็กพักผ่อน
2 นาที เป็นการพักคลายกล้ามเนื้อ
5.
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
- แทมโบรีน
- เนื้อเพลง
เพลงดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วง มีแสดขาวชมพู
6.
กระบวนการวัดและประเมินผล
6.1
วิธีการ
รายการประเมิน
|
ระดับพัฒนาการ
|
||
3
|
2
|
1
|
|
1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้
|
เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้
|
เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้โดยครูหรือเพื่อนคอยกระตุ้น
|
เด็กไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้เลย
|
2. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะและสัญญาณได้
|
เด็กสามารถฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้ถูกต้อง
|
เด็กสามารถฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้โดยครูหรือเพื่อนคอยกระตุ้น
|
เด็กไม่สามารถฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้เลย
|
3. เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ
|
เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ
|
เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจได้โดยครูหรือเพื่อนคอยกระตุ้น
|
เด็กไม่สามารถแสดงท่าทางความมั่นใจได้เลย
|
6.2 ผลการประเมิน
รายการประเมิน
|
ระดับพัฒนาการ (จำนวน 26 คน)
|
|||||
ระดับ 3
(คน)
|
ร้อยละ
|
ระดับ 2
(คน)
|
ร้อยละ
|
ระดับ 1
(คน)
|
ร้อยละ
|
|
1. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำและผู้ตามได้
|
||||||
2. เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะและสัญญาณได้
|
||||||
3. เด็กสามารถแสดงท่าทางด้วยความมั่นใจ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น