หนังสืออัธยาตมวิทยา
ตำราเล่มนี้พิมพ์ในปี
ร.ศ. 125 หรือ พ.ศ. 2450 ผู้แต่งคือ ขุนจรัสชวนะพันธ์ (สาตร สุทธเสถียร)
ซึ่งผู้แต่งได้กล่าวไว้ในคำนำของหนังสือว่า ในประเทศไทยเริ่มมีการสอนวิชาดังกล่าวตั้งแต่ปี
ร.ศ. 122 หรือ พ.ศ. 2447 แต่ยังไม่มีการพิมพ์ตำราอย่างแพร่หลาย
เป็นหนังสือจิตวิทยาการศึกษาเล่มแรกของไทยที่ใช้เป็นตำราวิชาครูของกรมศึกษาธิการ
แสดงถึงภูมิปัญญาของคนไทยในสมัย รศ.๑๒๒ (พ.ศ.2446)
ซึ่งสามารถนำความรู้ของนักวิชาการตะวันตกมาเขียนโดยใช้ภาษาเรียบง่ายตรงไปตรงมา
เทียบเคียงกับสภาพในเมืองไทย มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย
และที่สำคัญคือมีการชี้ช่องทางที่จะให้ผู้เป็นครูนำความรู้จากตำราไปใช้ประโยชน์ได้อย่างจริงจัง
เหมาะสำหรับครูอาจารย์ นิสิตนักศึกษา
และผู้สนใจทั่วไปเนื่องจากสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
มหาวิทยาลัยนำมาจัดพิมพ์ขึ้นใหม่โดยถ่ายจากฉบับพิมพ์ครั้งแรกเพื่อรักษารูปแบบของหนังสือเดิมเอาไว้ทุกประการ
จากหลักฐานที่ปรากฎสามารถคาดคะเนได้ว่า
ในประเทศไทยมีการสอนจิตวิทยาอย่างเป็นระบบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2447
โดยมีหลักฐานการพิมพ์หนังสือแบบเรียนจิตวิทยาโดยใช้ชื่อวิชาว่า “อัธยาตมวิทยา” เป็นตำราที่มีเนื้อหาต่าง ๆ เช่น
วิทยาศาสตร์แห่งร่างกาย (ในปัจจุบันเรียกสรีรวิทยา) อารมณ์ แรงจูงใจ
ความเจริญของร่างกาย (ปัจจุบันเรียกพัฒนาการ) การเรียนรู้และความจำ ความคิด
เป็นต้น
ซึ่งจะพิจารณาได้ว่าเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาสมัยใหม่ทั้งสิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น