การประกันคุณภาพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา
          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  มาตรา 48  ให้หน่วยงานต้นสังกัด  และสถานศึกษาจัดให้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน  เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
          การประกันคุณภาพสถานศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐานทั้งในระดับอุดมศึกษา  และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
          1. การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน  (ASEAN  Cooperation  Initiative in  Quality  Assurance)
            การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร  โยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียน (AUN Quality Assurance  -  AUN -QA) ที่ตระหนักถึงความสำคัญของประกันคุณภาพการศึกษาในการศึกษา ให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN  เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ( AUN  Quality Assurance  -  AUN -QA) เป็นกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  การรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  และนำมากำหนดไว้ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับ  ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์  ASEAN University  Network Quality Assurance : AUN-QA  โดยเกณฑ์พิจารณา 11  หมวด ได้แก่
          1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
          2. ข้อกำหนดหลักสูตร
          3. โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
          4. แนวทางการสอนและการเรียนรู้
          5. การประเมินผลนักศึกษา
          6. คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
          7. คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
          8. คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
          9. สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
          10. การเพิ่มคุณภาพ
          11. ผลผลิต
            มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN ได้มีการนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร   (AUN-QA Assessment) โดยหลักสูตรที่มีความพร้อม  มหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดย AUN-QA ต่อไป


2.การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          สำนักทดสอบทางการศึกษา  กรมการวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้ศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   จากผลการศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเป็นกฎหมายกระทรวง กำหนด  ระบบ  หลักเกณฑ์  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและเอกสารการดำเนินงานตามระบบดังกล่าว  ได้แก่
          1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
          2. แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา
          3. แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
          4. แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
          5. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
          6. แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
          7. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  โดยเขตพื้นที่การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา :  กรอบและแนวการดำเนินงาน  เขียนแสดงความสัมพันธ์ได้ดังภาพ ประกอบที่ 13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น