บทที่ 1
The STUDIES Model : การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ The STUDIES Model มีจุดหม่ายสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 9(4) ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐาน วิชาชีพครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบ The STUDIES Model มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้
ความสามารถ คุณลักษณะความเป็นครูตามมาตรฐานวิชาชีพ
ตามที่คุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพไว้และสอดคล้องกับแนวคิดอาจารย์มืออาชีพ
แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา (ไพฑูรย์
สินลารัตน์ 2550 บรรณาธิการ เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย)
การปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงศักยภาพการเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนกาสอนเป็นหลัก
กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model
รูปแบบ
The STUDIES Model เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค Thailand 4.0 หรือยุคการศึกษา 4.0 มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivist Learning Method : CLM)
การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design of Instruction :
UDI) การวัดผลการเรียนรู้ การกำหนดระดับความเข้าใจ ในการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด
SOLO Taxonomy ผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
ที่เรียกว่า The STUDIES Model มีรายละเอียดกรอบแนวคิด ( The
STUDIES Model framework)
ดังแผนภาพประกอบที่ 1
ภาพประกอบที่ 1 กรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ The STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู
มีความรู้ความเข้าใจบทบาทที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอน และมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปจัดการเรียนรู้
และจัดการชั้นเรียน
รายละเอียดดังภาพประกอบที่ 2
ภาพประกอบที่ 2 รูปแบบ The STUDIES Model
ที่มา พิจิตรา
ธงพานิช การพัฒนารูปแบบ The STUDIES Model เพื่อส่งเสริมความสามรถในการ จัดการเรียนรู้
และการจัดการชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2561 : 7
รูปแบบ The STUDIES Model
มี 7 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S : กำหนดจุดหมายการเรียนรู
(Setting Learning goals)
การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้ (goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative
knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural
knowledge) จุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียน
ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่างๆเพื่อให้ได้ความรู้ (knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge - Skill - Attitude
U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Univerasl Design for Instruction UDI) เป็นการออกแบบการเรียนการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทำหรือชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา (educational products (computers, websites, software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (dormitories, classrooms,student union buildings, libraries, and distance learning courses). ที่จะระบุในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
D : การเรียนรู้สื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเตอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับเนื้อหา (content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทำงานและชีวิตประจำวัน
I : การบูรณาการความรู้ (Integrated
Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่างๆ
ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง
การเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
E : การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
(Evaluation to Improve Teaching)
การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้
(Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom’ Taxonomy)
การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
เป็นการตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
S : การประเมินอิงมาตรฐาน
(Standard Based Assessment)
การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้
(Structure of Observed Learning Outcomes : SOLO Taxonomy) มากำหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เป็นการตรวจสอบคุณภาพการเรียนรู้
รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
การปรับปรุงรายวิชา
สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต พ.ศ 2556 เป็นหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ปรับปรุง พ.ศ.
2561 และปรับเปลี่ยนรายวิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ (Instructional Design and Management) เป็นรายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (Instructional
and Classroom Management) รายละเอียดการปรับปรุง คือ ชื่อรายวิชา
รหัสวิชา จำนวนชั่วโมงในการจัดการเรียนการสอน และคำอธิบายรายวิชา
ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้สาระและสมรรถนะในการเรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ที่คุรุสภากำหนด
หนังสือ The STUDIES Model : การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
เพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ดังกล่าวสรุป
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
เป็นวิชาที่นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องศึกษาไว้ให้แตกฉาน รูปแบบ The STUDIES Model เป็นการนำเสนอให้รู้จักหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดการเรียนรู้
กล่าวได้ว่า การรู้รูปแบบ The STUDIES Model อย่างเดียวแต่ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ
ก็คงสอนไม่ได้ดี รูปแบบ The STUDIES Model พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้
ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าในการจัดการเรียนรู้ควรจะปรับปรุงแก้ไขประเด็นใด
เมื่อผู้สอนได้แบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนแล้วที่ชัดเจนแล้วการจัดการเรียนรู้ต่อไปก็จะง่ายขึ้น
ถ้าเป็นไปได้ก็คิดขั้นตอนกระบวนการของตนเองขึ้นมาบ้าง ไม่ต้องเดินตามวิธีการที่คนอื่นกำหนดไว้เสมอไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น